ทรัพย์สินทางปัญญา

รัพย์สินทางปัญญา

หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่อยู่จากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยเเบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลักคือ 

1) ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม(Industiral Property)
-สิทธิบัตรการประดิษฐ์
  1. -อนุสิทธิบัตร
    -สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
-แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout – Design of Integrated Circuits)
-เครื่องหมายการค้า (Trademark)
-ความลับทางการค้า (Trade Secret)
-สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)



2) ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ยังเเบ่งออกได้อีก 5 ประเภท
    2.1) สิทธิบัตร
    2.2)อนุสิทธิ
    2.3)เครื่องหมายการค้า
    2.4)ความลับทางการค้า
    2.5)สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์



ทรัพย์สินทางปัญญา


สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่งจับต้องได้ สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น เช่น เจ้าของหนังสือจะไม่สามารถทำหนังสือขึ้นมาจำหน่ายเองโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น หรือผู้ซื้อซอร์ฟแวร์จะเป็นเจ้าของสินค้านี้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำซอร์ฟแวร์นั้นขึ้นมาจำหน่ายเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิก่อนเท่านั้น





เครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543
  1. 1.ลักษณะทั่วไปของเครื่องหมายการค้า
    เครื่องหมายการที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543 ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันของ “เครื่องหมาย” ซึ่งได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ
  2. 2.ประเภทของเครื่องหมาย
    กฎหมายให้ความคุ้มครองเครื่องหมายทั้งหมด 4 ประเภท คือ 
    1. 2.1 เครื่องหมายการค้า 
      หมายถึง เครื่องหมาย หรือยี่ห้อ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจาสินค้าของบุคคลอื่น ตัวอย่างเช่น



สินค้ายานพาหนะ


บริการสายการบิน

ขอบคุณรูปภาพจาก  http://www.trueinnovationcenter.com/ip_trademark.php



ความคิดเห็น